4. ภาพพลิก (flip charts)เป็นทัศนวัสดุที่เป็นภาพชุดของภาพวาด ภาพถ่ายหรือแผนสถิติ นำมาเย็บเล่มรวมกันเป็นเรื่องราวเดียวกันสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตั้งแต่ต้นจนจบ โดยทั่วไปมีประมาณ 10 – 15 แผ่น ภาพพลิกที่มีคุณภาพดีควรผนึกด้วยผ้าดิบจะทำให้ทนทานใช้งานได้สะดวกและใช้ได้นาน การเย็บเล่มรวมกันทำให้แข็งแรงมั่นคงไม่หลุดหล่นจากกันและควรออกแบบห่วงสำหรับติดตั้งหรือแขวนกับขาตั้งหรือผนังห้อง
ลักษณะของภาพพลิกที่ดีและมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนควรมีรูปภาพชัดเจนเข้าใจง่ายสื่อความหมายได้ดี ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ ควรใช้สีตัดกันหรือกลมกลืนกันอย่างเหมาะสม รูปภาพควรเป็นภาพสีเพราะจะช่วยดึงดูดความสนใจได้ดีกว่าภาพขาว – ดำ ภาพพลิกหนึ่งชุดควรเป็นเรื่องเดียวกันและเรียงภาพตามลำดับก่อนหลังอย่างถูกต้อง คำอธิบายควร เป็นประโยคสั้นๆ กะทัดรัด ตัวอักษรขนาดใหญ่และเป็นรูปแบบเดียวกัน ควรเย็บรวมแผ่นอย่างมั่นคงและออกแบบสำหรับติดตั้งกับขาหยั่งขาตั้งที่แข็งแรง ควรมีบทสรุปในตอนท้ายของทุกเรื่อง
เทคนิคการใช้ภาพพลิกกับการเรียนการสอนที่ดีควรติดตั้งภาพพลิกบนขาหยั่งหรือขาตั้งให้เรียบร้อยก่อนการใช้งาน ขณะใช้งานควรอธิบายตามลำดับอย่างต่อเนื่องและมีชีวิตชีวา ขณะใช้งานอย่าบังสื่อควรยืนอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของสื่อเสมอ การชี้สื่อภาพพลิกควรใช้ไม้หรือวัสดุทึบแสงไม่ควรใช้มือชี้ ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน อาจทำได้โดยการตั้งคำถามไว้ในภาพพลิก หลังจบเนื้อหาย่อยเป็นตอน ๆ ไป
รูปแบบของภาพพลิกสามารถออกแบบและผลิตได้หลายรูปแบบดังนี้คือ 1) การใช้กระดาษแข็งหรือไม้อัดทำเป็นปกหน้าและปกหลังเวลาใช้งานตั้งแล้วกางปกทั้งสองแยกออกกลาย เป็นขาตั้งไปในตัว 2)ใช้กระดาษแข็งไม้อัดหรือไม้เนื้อแข็งทำเป็นขาหยั่งตั้งโต๊ะติดบานพับสามารถแยกเป็นฐานรองรับภาพได้ทั้ง2 ชิ้น 3) ทำเป็นขาหยั่งตั้งบนพื้นสูงประมาณ 1 - 1.50 เมตร ด้านบนทำเป็นตะขอโลหะสำหรับแขวนภาพพลิกทั้งเล่ม 4) เย็บเป็นเล่มแขวนกับวัดสุอื่นที่เหมาะสม
วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น